วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2558

การละเล่นเด็กไทยโบราณ

การละเล่นไทย เป็นการละเล่นของเด็กตั้งแต่สมัยโบราณ แต่ในปัจจุบันมักไม่ค่อยได้พบเห็นการละเล่นประเภทเหล่านี้กันบ่อยเหมือนแต่ ก่อนจนบางครั้งแทบจะไม่ได้เป็นที่รู้จักของคนในปัจจุบัน

การละเล่นเด็กไทยโบราณ
ประวัติความเป็นมา ของการละเล่นพื้นบ้าน
   เป็นการ ละเล่นที่มีในกลุ่มสังคมท้องถิ่น ในอดีตมีกีฬาพื้นบ้านต่างๆให้เล่นมากมายตั้งแต่รุ่นก่อนๆจนกระทั่งถึงรุ่น ปัจจุบันก็ยังมีให้เห็นอยู่ซึ่งแต่ก็น้อยกว่าในสมัยก่อนมากเพราะสมัย ปัจจุบันมีเทคโนโลยีเข้ามามากจึงทำให้คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยได้เล่นกันนัก กิจกรรม การเล่นของสังคม เป็นกิจกรรมนันทนาการหนึ่งซึ่งได้รับการยอมรับร่วมกันในสังคม โดยมีรากฐานมาจากความเป็นจริงแห่งวิถีชีวิตของชุมชนที่มีการประพฤติปฏิบัติ สืบทอดกันมาจากอดีตสู่ปัจจุบัน การละเล่นแสดงออกด้วยการเคลื่อนไหวกริยาอาการเป็นหลัก อาจมีดนตรี การขับร้องหรือการฟ้อนรำประกอบการเล่น มีจุดมุ่งหมาย เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินในโอกาสต่าง ๆ การละเล่นบางชนิดได้รับการถ่ายทอดสืบสานต่อกันมา และปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนารูปแบบอย่างต่อเนื่องจนมีลักษณะเฉพาะถิ่น ดังนี้การละเล่นพื้นบ้านจึงเป็นผลิตผลอันเกิดจากความคิดและจินตนาการของ มนุษย์ย่อมสะท้อนถึงโลกทัศน์ ภูมิธรรม และจิตวิญญาณของบรรพชนในท้องถิ่นที่ได้ถูกหล่อหลอมจนตกผลึกเป็นภูมิปัญญาอัน ทรงคุณค่าและได้กลายเป็นมรดำวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของประเทศชาติการละเล่น นับว่ามีความสัมพันธ์กับชีวิตมนุษย์มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการละเล่นของเด็กและของผู้ใหญ่ล้วนแสดงออกถึงสภาพชีวิต ความเป็นอยู่

           ขนบธรรมเนียมประเพณีค่านิยมและความเชื่อของสังคมนั้น ๆ ทั้งยังก่อคุณค่าแก่ผู้เล่นและผู้เฝ้าดู ในด้านการผ่อนคลายอารมณ์ ความเครียด เสริมสร้างพลังกายให้แข็งแรง ฝึกความคิด ความเข้าใจ การแก้ปัญหานอกจากนี้ยังก่อให้เกิดระเบียบวินัย เกิดดารยอมรับกฎเกณฑ์ของสังคม สรรค์สร้างความเป็นกับญาติมิตรขึ้นในชุมชน ทำให้สังคมเกิดความเข้มแข็งจนก่อเป็นความดีงามอันเป็นเป้าหมายสูงสุดแห่ง ชีวิต
การละเล่นของไทยไม่สามารถลำดับให้เห็นพัฒนาการตามกาลเวลาได้อย่างชัดเจนทั้ง นี้เนื่องจากการละเล่นส่วนใหญ่เป็นกระบวนการถ่ายทอดด้วยการปฏิบัติ มิใช่ตำรา จึงขาดการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรที่จะใช้เป็นข้อมูลในการสร้างลำดับอายุ สมัยของการละเล่นแต่ละอย่างได้ยิ่งไปกว่านั้น การละเล่นของไทยส่วนใหญ่มีลักษณะของการพัฒนาตนเองและค่อยเป็นค่อยไปเพราะจด จำสืบต่อกันมาจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง (ร.อ.หญิงปรียา หิรัญประดิษฐ์ ๒๕๓๓ : ๑๕) และโดยเหตุที่การละเล่นเกิดขึ้นมายาวนานและปรากฏอยู่ทั่วไปในท้องถิ่นต่าง ๆ โดยทั่วไป เช่นนี้ทำให้เกิดความหลากหลายของการละเล่นพื้นบ้าน มีทั้งลักษณะร่วม และลักษณะที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น อย่างไรก็ดีสิ่งที่ตรงกันในทุกท้องถิ่นก็คือมีการละเล่นพื้นบ้านทั้งที่เป็น ของเด็กและของผู้ใหญ่

การละเล่นพื้นเมือง คือ การละเล่นที่แสดงเอกลักษณ์ของท้องถิ่นที่มีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทยโดยสามารถแบ่งตาม
การละเล่นแต่ละภาค ดังนี้
   * การละเล่นภาคกลางและภาคตะวันออก
  * การละเล่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน
  * การละเล่นภาคเหนือ
  * การละเล่นภาคใต้

  ความแตกต่างของการละเล่นจะปรากฏใน ลักษณะ ท่าทางการร่ายรำ คำร้อง ดนตรี และการแต่งกาย การละเล่นเป็นกิจกรรมบันเทิงที่แฝงไว้ด้วยสัญลักษณ์ อันเนื่องด้วยวัฒนธรรมและประเพณี สะท้อนวิถีชีวิตและความเชื่อของสังคมที่สืบทอดมาแต่โบราณ การละเล่นบางอย่างของแต่ละภาคอาจได้รับอิทธิพลจากประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ ใกล้เคียงที่มีพรมแดนติดต่อหรือใกล้เคียงกันกัน เช่น ประเทศลาว กัมพูชา พม่า จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นต้น

 ประวัติศาสตร์ได้มีการบันทึกว่า คนไทยมีการละเล่นมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จากความในศิลาจารึกสมัยสุโขทัยหลักที่ 1 กล่าวว่า “…ใครใคร่จักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน…” และในสมัยอยุธยา ก็ได้กล่าวถึงการแสดงเรื่อง มโนห์รา ไว้ในบทละครครั้ง กรุงเก่า ได้กล่าวถึงการละเล่นนั้นบทละครนั้น ได้แก่ ลิงชิงหลัก และปลาลง อวน ประเพณีและวัฒนธรรมสมัยก่อน มักสอดแทรกความสนุกสนานบันเทิงควบคู่กันไปกับการทำงาน ทั้งในชีวิตประจำวัน และเทศกาลงานบุญ ตามระยะเวลาแห่งฤดูกาล

ลักษณะของกิจกรรมบันเทิงที่จัดอยู่ในการละเล่น ได้แก่

* การแสดง หมายถึงการละเล่นที่รวมทั้งที่เป็นแบบแผนและการแสดงทั่วไปของชาวบ้านในรูปแบบการร้องการบรรเลงการฟ้อน
   รำซึ่งประกอบด้วยดนตรี เพลงและนาฏศิลป์
* มหรสพ หมายถึงการแสดงที่ฝ่ายบ้านเมืองจะเรียกเก็บค่าแสดงเป็นเงินภาษีแผ่นดินตามพระราชบัญญัติที่ กำหนดไว้
   ตั้งแต่พุทธศักราช 2404 เป็นต้นมา ประกาศมหรสพว่าด้วยการละเล่นหลายประเภทดังนี้ ละคร งิ้วหุ่นหนังต่างๆ สักวา เสภา
   ลิเก กลองยาว ลาวแพน มอญรำและทวายรำ พิณพาทย์ มโหรี กลองแขก คฤหัสถ์สวดศพ และจำอวด
* กีฬาและนันทนาการ คือ การละเล่นเพื่อความสนุกสนานตามเทศกาลและเล่นตามฤดูกาล และการละเล่น เพื่อการแข่งขัน
   หรือกิจกรรมที่ทำตามความสมัครใจในยามว่าง เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และ ผ่อนคลายความตึงเครียด
การละเล่นของเด็กแบบไทย ๆ มีมาตั้งแต่เมื่อไร
     ชนชาติไทยมีมาตั้งแต่เมื่อไร การละเล่นแบบไทย ๆ ก็น่าจะมีมาแต่เมื่อนั้นแหละ ถ้าจะเค้นให้เห็นกันเป็นลายลักษณ์อักษร ก็คงต้องขุดศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง 











มอญซ่อนผ้า

มอญซ่อนผ้า


มอญซ่อนผ้าทุกคนนั่งล้อมวงช่วยกันร้องว่า "มอญซ่อนผ้า ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง ไว้โน่นไว้นี่ ฉันจะตีก้นเธอ" มอญจะถือผ้าเดินรอบวงแล้วแอบหย่อนผ้า ไว้ข้างหลังผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง หากผู้เล่นคนนั้นรู้ตัวก่อนก็จะหยิบผ้ามาไล่ตีมอญ แล้ววิ่งมานั่งที่เดิม แต่หากว่ามอญเดินกลับมาอีกรอบหนึ่ง แล้วผู้เล่นคนนั้นยังไม่รู้ตัว ก็จะถูกมอญเอาผ้าตีหลัง และต้องเล่นเป็นมอญแทน

มอญซ่อนผ้า
การเล่นมอญซ่อนผ้า เป็นการเล่นที่ง่าย ไม่มีกฎกติกามากมายนักมักเป็นการละเล่นของหนุ่มสาว โดยมากจะซ่อนเป็นคู่ ๆ เป็นการเจาะจงตัวผู้ซ่อน นิยมเล่นในงานเทศกาลต่าง ๆ โดยเฉพาะเทศกาลตรุษสงกรานต์
อุปกรณ์ 
ผ้าขาวม้ามัดปลายให้เป็นปมใหญ่ ๆ เรียกว่า ผ้าตีหรือลูกตูม จำนวนของลูกตูม จะมี ๑ ใน ๓ ของจำนวน
ผู้เล่นหรือแล้วแต่จะตกลงกัน

ผู้เล่น
ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น แต่นิยมให้มีผู้เล่นมากกว่า ๘ คน เป็นชายและหญิงฝ่ายละครึ่ง

รูปแบบ
ผู้เล่นนั่งล้อมเป็นวงกลมหันหลังให้กัน ดังภาพประกอบ
วิธีการเล่น
ให้ผู้เล่นนั่งเป็นวงกลม ทั้งสองฝ่ายนั่งคละสลับกันโดยปกติถ้าแบ่งเป็นชายฝ่ายหนึ่งหญิงฝ่ายหนึ่ง จะให้ฝ่ายชายเป็นผู้ถือผ้าก่อน โดยให้ตัวแทนฝ่ายชาย ๑ หรือ ๒ คน แล้วแต่ว่าจะมีผ้าอยู่ในกลุ่มของตนกี่ผืนยืนอยู่นอกวง หรือจะให้ฝ่ายหญิงออกมาถือผ้าคละรวมกับฝ่ายชายด้วยก็ได้ แต่จะต้องมีจำนวนผู้เล่นที่ออกมาฝ่ายละเท่ากันผู้เล่นที่นั่งอยู่ในวงต้อง นั่งอยู่เฉย ๆ จะหันหน้าไปมองผู้ที่ถือผ้าอยู่นอกวงไม่ได้ หรือจะบอกผู้หนึ่งผู้ใดที่ถูกซ่อนผ้าไม่ได้
ให้ผู้เล่นที่ถือผ้าอยู่นอก วงนั้นเดินรอบวง แล้วให้หาที่ซ่อนลูกตูมโดยซ่อนไว้ที่ข้างลำตัวของผู้เล่นที่นั่งอยู่เป็นผู้ เล่นคนละฝ่ายกันหรือผู้ล่นเพศตรงข้าม แล้วเดินวนไปเรื่อย ๆ จนมาถึงตัวผู้ที่ถูกซ่อนลูกตูมเอาไว้ ให้ตีผู้ที่ถูกซ่อน 1 ทีด้วยลูกตูมแล้ววิ่งหนี หรือถ้าผู้เล่นที่ถูกซ่อนรู้สึกตัวให้วิ่งไล่ผู้เล่นที่นำลูกตูมมาวาง แล้วพยายามให้ลูกตูมตีผู้เล่นผู้นั้นให้ได้ ผู้เล่นที่นำ ลูกตูมไปซ่อนไว้ก็จะต้องวิ่งหนีรอบวงและพยายามวิ่งไปนั่งแทนที่ของผู้ที่ตน นำลูกตูมไปซ่อนเอาไว้ให้ได้ ถ้าถูกตีเสียก่อนจักต้องมาทำหน้าที่เช่นเดิม แต่ถ้าวิ่งหนีไปนั่งทัน ผู้ที่ถูกซ่อนลูกตูม จักต้องทำหน้าที่แทนในการเล่นรอบต่อไป

ประโยชน์และคุณค่าของการเล่นมอญซ่อนผ้า
๑.ได้ฝึกความสังเกต
๒.เป็นการออกกำลังกาย
๓.เกิดความสนุกสนานอีกด้วย
๔.เพื่อหัดให้ผู้เล่นเป็นคนว่องไว
๕.เพื่อฝึกให้ผู้เล่นเป็นคนที่มีไหวพริบและรู้จักสังเกตเหตุการณ์ต่างๆ

โพงพาง

โพงพาง

ผู้ที่เล่นเป็น "ปลา" จะถูกผูกตาแล้วหมุน 3 รอบ ผู้เล่นอีกคนอื่นล้อมวงร้องว่า "โพงพาง เอ๋ย สำเภาเข้าลอด ปูปลาตาบอด เข้าลอดโพงพาง" จบแล้วถามว่า "ปลาเป็นหรือปลาตาย?" ถ้าปลาตอบว่า "ปลาตาย" แปลว่าห้ามขยับ แต่ถ้าตอบว่า "ปลาเป็น" ก็ขยับได้ หากผู้เล่นเป็นปลา แตะถูกตัวคนใดคนหนึ่งแล้วทายชื่อถูก ผู้นั้นจะต้องกลายเป็นปลาแทน ถ้าไม่ถูกก็ให้ทายใหม่
โพงพาง คือ ชื่อของกับดักปลาชนิดหนึ่ง

วิธีเล่น
ยิงฉุบกันว่าใครจะเป็นผู้แพ้ต้องปิดตาเป็นโพงพางตาบอด ผู้เล่นคนอื่น ๆ  จับมือเป็นวงกลมร้องเพลง โพงพางเอ๋ย โพงพางตาบอด รอดเข้ารอดออก โพงพางตาบอดปล่อยลูกช้างเข้าในวง ขณะเดินวนรอบ ๆ โพงพางตาบอดร้องเพลง ๑-๓ จบ แล้วนั่งลงโพงพางจะเดินมาคลำคนอื่น ๆ ซึ่งต้องพยายามหนี และจะต้องเงียบสนิท หากโพงพางจำเสียงหัวเราะ   รูปลักษณะได้จะเรียกชื่อ ถ้าเรียกคนถูกต้องออกมาปิดตาเป็นโพงพางต่อไป ถ้าไม่ถูกก็ต้องเป็นโพงพางอีกไป   เรื่อย ๆ
กติกา
ใครถูกจับได้ และบอกชื่อถูกต้องเป็นโพงพางแทน
โอกาสในการละเล่น
เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เด็ก ๆ เล่นกันโดยทั่วไป

ตี่จับ

 ตี่จับ

แบ่งผู้เล่นเป็นสองฝ่าย มีเส้นแดนตรงกลาง ตัวแทนฝ่ายที่รุกจะต้องส่งเสียง "ตี่" ไม่ให้ขาดเสียง และจะต้องพยายามแตะตัวคนใดคนหนึ่ง ของฝ่ายรับมาเป็นเชลย ส่วนฝ่ายรับหากเห็นว่าคนที่รุกมากำลังจะหมดแรงหายใจ จะถอยกลับก็จะพยายามจับตัวไว้ให้ได้ หากคนที่รุกเข้ามาขาดเสียง "ตี่" ก่อนกลับเข้าแดนของตน ก็จะต้องตกเป็นเชลยของอีกฝ่าย และยังเป็นการเล่นที่เล่งได้ง่ายมากๆอีกด้วย

อุปกรณ์และวิธีการเล่น
การเล่นตี่จับต้องแบ่งผู้เล่นออก เป็นสองฝ่าย ฝ่ายละเท่า ๆ กัน มีเส้นแบ่งเขตตรงกลาง ต้องตกลงกันว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายรุกไปก่อน คนหนึ่งที่เป็นฝ่ายรุกจะเริ่มข้ามเขต พอเข้าเขตฝ่ายตรงข้ามก็ต้องร้อง “ตี่” ไม่ให้ขาดเสียง แล้ววิ่งเอามือแตะตัวคนใดคนหนึ่งในฝ่ายรับ แต่จะหยุดหายใจไม่ได้ ในขณะที่ร้อง “ตี่” นั้น ฝ่ายรับก็จะพยายามจับคนที่ร้อง “ตี่” ไว้ ถ้าคนร้อง “ตี่” เห็นว่าจะสู้ไม่ได้หรือจะต้องถอนหายใจ ต้องรีบถอยมาให้พ้นเส้นแบ่งเขต ถ้าถอยไม่ทันผู้ร้อง “ตี่” หยุดถอนหายใจก็จะต้องถูกจับตัวไว้เป็นเชลย แต่ถ้าคนที่ร้อง “ตี่” แตะตัวฝ่ายรับได้ คนที่ถูกแตะก็เป็นเชลยฝ่ายนี้ ฝ่ายที่ได้เชลยก็จะส่งคนร้อง “ตี่” ไปแตะคนที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามอีก ถ้ายังจับไม่ได้ก็ผลัดกันรุกคนละครั้ง จนกว่าจะกวาดเชลยได้หมดก็ขึ้นตาใหม่
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
มักจะเล่นในเวลาว่างจากภารกิจทั้งปวง เช่น เวลาพักหลังเลิกเรียน หรือภายหลังจากทำงานบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ประโยชน์และคุณค่า
การเล่นตี่จับเป็นการฝึกการใช้กำลัง ฝึกความว่องไว และความอดทน นอกเหนือไปจากความสนุกสนานเพลิดเพลิน

กาฟักไข่

กาฟักไข่

บางแห่งเรียกกว่า "ซิงไข่เต่า" ผู้เล่นเป็นอีกาหรือเต่าจะเข้าไปอยู่ในวงกลมที่ขีดไว้ คนอื่นๆอยู่นอกวงกลม พยายามแย่งเอาก้อนหินที่สมมุติว่าเป็นไข่มาให้ได้ อีกาหรือเต่าจะปัดป่ายแขนขาไปมา ถ้าโดนผู้ใดผู้นั้นจะต้องมาเล่นเป็นอีกาแทนทันที แต่ถ้าไข่ถูกแย่งหมด อีกาหรือเต่าจะต้องไปตามหาไข่ที่ผู้อื่นซ่อนไว้ หากหาไม่พบจะถูกจูงหูไปหาไข่ที่ซ่อนไว้ เป็นการลงโทษ
  • โทกเทก
อาจเรียกชื่อแตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น เป็นการละเล่นที่ใช้อุปกรณ์ที่ทำมาจากไม้ไผ่ ประกอบด้วยท่อนไม้สั้นซึ่งเป็นที่เหยียบสำหรับยืน มีผ้าพันเพื่อไม่ให้เจ็บง่ามเท้า ไม้ท่อนยาวสำหรับใช้เป็นตัวยืนจับ เวลาเล่นต้องพยายามทรงตัวเดินจะทำให้รู้สึกว่าขายาวขึ้น เด็กๆ อาจจะแข่งขันกันว่าใครสามารถเดินได้เร็วกว่ากัน


กาฟักไข่
ผู้เล่น   เด็กทั้งชายและหญิงไม่น้อยกว่า 3 คน
สถานที่เล่น  บนพื้นดินกลางแจ้ง
วิธีการเล่น
ขีดเส้นเป็นวงกลมบนพื้นกว้างพอสมควร นำเอาไข่ของทุกคนไปรวมกันในวงกลม แล้วหาผู้เล่น 1 คน ไปเป็นกาคอยรักษาไข่ไม่ให้ผู้เล่นคนอื่นแย่งไข่ไปได้โดยผู้เป็นกาจะใช้มือ หรือเท้าป้องไข่ไว้ โดยจะป้องกันได้เฉพาะในวง จะออกนอกวงไม่ได้
ส่วนผู้ แย่งไข่ต้องระวังอย่าให้มือหรือเท้าของกามาถูกตนได้ถ้าไปถูกใครเข้า คนนั้นจะต้องเข้ไปเป็นกาแทน แล้วเริ่มเล่นกันใหม่ ไข่ที่แย่งไปได้ต้องคืนหมด แต่ถ้ากาถูกแย่งไข่ไปได้หมด ผู้เป็นกาจะต้องปิดตาแล้วผู้เล่นคนอื่นจะเอาไข่ไปซ่อนตามสถานที่ใกล้ๆ นั้น
หลัง จากนั้นกาต้องออกตามหาไข่ให้ได้ครบจำนวน ถ้าหาไม่ครบแล้วยอมแพ้ก็จะถูกผู้ซ่อนไข่ดึงหูพาไปหาที่ซ่อนไข่จนครบ และต้องเป็นกาต่อไป แต่ถ้ากาหาไข่ได้หมด เจ้าของไข่ที่ถูกกาหาพบคนแรกจะต้องมาเป็นกาแทน

ประโยชน์และคุณค่าการละเล่นกาฟักไข่
1. ฝึกความคล่องแคล่วว่องไว ในการเคลื่อนไหวร่างกาย
2. ฝึกให้เป็นคนช่างสังเกต หูไวตาไว

ขี่ม้าส่งเมือง

ขี่ม้าส่งเมือง
 












แบ่งผู้เล่นออกเป็นสองฝ่าย แล้วเลือกผู้เล่น 1 คน มาเล่นเป็นเจ้าเมือง ฝ่ายที่เริ่มก่อนจะกระซิบความลับให้เจ้าเมืองทราบ (อาจจะเป็นชื่อคนหรือเรื่องที่ตกลงกันไว้) ถ้าฝ่ายตรงข้ามทายถูกเจ้าเมืองจะบอกว่า "โป้ง" ฝ่ายที่ทายถูกก็จะชนะ และได้ฝ่ายแรกเป็นเชลย ถ้าทายผิดก็จะต้องตกเป็นเชลย ฝ่ายใดตกเป็นเชลยหมดก่อน ต้องเป็นม้าให้อีกฝ่ายหนึ่งขี่หลังไปส่งเมือง

โมราเรียกชื่อ

โมราเรียกชื่อ

 

ใช้ลูกปิงปองโยนขึ้นสูงเหนือหัวราวหนึ่งช่วงตัว แล้วเอ่ยชื่อคนอื่น ให้เข้ามารับที่ตกกระเด้งขึ้นมาจากพื้น หนึ่งครั้งเท่านั้น หากวิ่งมารับไม่ทันในการกระดอนหนึ่งครั้ง ถือว่ารับไม่ได้ ให้ลูกปิงปอง แล้วขว้างให้โดนเด็กคนอื่น โดนใคร คนนั้นก็เสียน่อง ซึ่งมักจะเจ็บแปดวงกลมๆ แดงๆ จบรอบล้างแต้ม เริ่มเล่นกันใหม่
ข้อควรระวังของผู้แพ้ที่ถูกจับ ขึ้นแท่น หากยืนขาไม่ชิดกัน จนลูกปอง รอดขา จะได้รับรางวัลให้ปาเพิ่มอีก 5 ครั้ง ส่วน คา 10 ก็เช่นกัน ถ้าปาแล้วติดคาหว่างขา จะโดนเพิ่มอีก 10
ความชื่อต้องวิ่งมารับให้ทัน เมื่อเรียกชื่อแล้ว เด็กที่เหลือ ก็จะฮือหนีออกห่างลูกปิงปอง เพราะกลัวโดนปาถูก หากเด็กที่ถูกเรียกชื่อรับลูกปิงปองได้ในการกระเด้งหนึ่งครั้ง ทุกคนก็จะฮือกลับมาล้อมวงรอเรียกชื่อใหม่อีกครั้ง รวมถึงจำชื่อเพื่อนๆ ที่ร่วมเล่นที่เราบอกทั้งหมด